วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
แหล่งท่องเที่ยวในอาเซียน
แหล่งท่องเที่ยวในประเทศอาเซียน
1. หมู่เกาะพีพี (ประเทศไทย)
2. ตึกแฝดเปโตรนาส petronas twin tower (ประเทศมาเลเซีย)
3. ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอ (ประเทศสิงค์โปร์)
4. ป้อมซานติเอโก Fort Santiago (ประเทศฟิลิปปินส์)
5. มัสยิดทองคำ Jame Ar’ Hassanil Bolkiah
Mosque (ประเทศบรูไน)
6. เกาะบาหลี
(ประเทศอินโดนีเซีย)
7. วัดพระธาตุหินขาว
(ประเทศพม่า)
8. ปราสาทนครวัด
(ประเทศกัมพูชา)
9. พระราชวังหลวงพระบาง
(ประเทศลาว)
10. ฮาลองเบย์
(ประเทศเวียดนาม)
ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน
ดอกไม้ในประจำชาติอาเซียนมีอะไรบ้าง
1. บรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam) : ดอกซิมปอร์
2. ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) : ดอกลำดวน
3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
(Republic of Indonesia) : ดอกกล้วยไม้ราตรี
4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(Lao People's Democratic Republic) : ดอกจำปาลาว
5. ประเทศมาเลเซีย
(Malaysia) : ดอกพู่ระหง
6. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
(Republic of the Philippines) : ดอกพุดแก้ว
7. สาธารณรัฐสิงคโปร์
(Republic of Singapore) : ดอกกล้วยไม้แวนด้า
8. ราชอาณาจักรไทย
(Kingdom of Thailand) : ดอกราชพฤกษ์
9. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
(The Socialist Republic of Vietnam) : ดอกบัว
10. สหภาพพม่า
(Union of Myanmar) : ดอกประดู่
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
อาหารประจำชาติอาเซียน
ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong) แค่เอ่ยชื่อก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า
ต้มยำกุ้งเป็นอาหารคาวที่เหมาะสำหรับรับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ
กลิ่นหอมของสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในต้มยำกุ้ง นอกจากจะทำให้รู้สึกสดชื่นแล้ว
ยังช่วยกระตุ้นการเจริญอาหารได้เป็นอย่างดี
และเนื่องจากต้มยำกุ้งเป็นอาหารที่มีรสเปรี้ยว และเผ็ดเป็นหลัก
ทำให้รับประทานแล้วไม่เลี่ยน
จึงทำให้ต้มยำกุ้งเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในทั่วทุกภาคของประเทศไทย
รวมถึงชาวต่างชาติเองก็ติดอกติดใจในความอร่อยของต้มยำกุ้งเช่นเดียวกัน
อาหารกัมพูชา
อาม็อก (Amok) เป็นอาหารคาวยอดนิยมของกัมพูชา
มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย โดยเป็นการนำเนื้อปลาสด ๆ ลวกพริกเครื่องแกง และกะทิ
แล้วทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง ซึ่งนอกจากจะใช้เนื้อปลาแล้ว
อาจเลือกใช้เนื้อไก่แทนก็ได้ ส่วนสาเหตุที่คนในประเทศกัมพูชานิยมรับประทานปลา
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของกัมพูชามีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์
ทำให้ปลาเป็นอาหารที่หารับประทานได้ง่ายนั่นเอง
อัมบูยัต (Ambuyat) เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน
มีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊ก
โดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตเอง ไม่มีรสชาติ
แต่ความอร่อยจะอยู่ที่การจิ้มกับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
นอกจากนี้ยังมีเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น ผักสด เนื้อห่อใบตองย่าง
หรือเนื้อทอด ทั้งนี้
การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องรับประทานตอนร้อน ๆ จึงจะดีที่สุด
หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า
โดยการนำใบชาหมักมาทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว
กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เรียกได้ว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกับเมี่ยงคำของประเทศไทย
ซึ่งหล่าเพ็ดนี้ จะเป็นเมนูอาหารที่ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญ ๆ
ของประเทศพม่า โดยกล่าวกันว่า หากงานเลี้ยง หรืองานเฉลิมฉลองใด ไม่มีหล่าเพ็ด
จะถือว่าการนั้นเป็นงานที่ขาดความสมบูรณ์ไปเลยทีเดียว
อโดโบ้ (Adobo) เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์
ทำจากเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ ที่ผ่านการหมัก และปรุงรส โดยจะใส่น้ำส้มสายชู ซีอิ๊วขาว
กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยอบในเตาอบ หรือทอด
แล้วนำมารับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ
ในอดีตอาหารจานนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทาง
เนื่องจากส่วนผสมของอโดโบ้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน
เหมาะสำหรับพกไว้เป็นเสบียงอาหารระหว่างการเดินทาง
ซึ่งปัจจุบันอโดโบ้ได้กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่นำมารับประทานกันได้ทุกที่ทุกเวลา
ลักซา (Laksa) อาหารขึ้นชื่อของประเทศสิงคโปร์
ลักซามีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวต้มยำใส่กะทิ ทำให้รสชาติเข้มข้น คล้ายคลึงกับข้าวซอยของไทย
โดยลักซาจะมีส่วนผสมของ กุ้งแห้ง พริก กุ้งต้ม และหอยแครง
เหมาะสำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารทะเลเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม
ลักซามีทั้งแบบที่ใส่กะทิ และไม่ใส่กะทิ ทว่า แบบที่ใส่กะทิจะเป็นที่นิยมมากกว่า
กาโด กาโด (Gado Gado) อาหารยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซีย
ประกอบไปด้วยผัก และธัญพืชหลากหลายชนิด
ทั้งแครอท มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้
และไข่ต้มสุกด้วย กาโด กาโดจะนำมารับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ อย่างไรก็ตาม
ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้
ทำให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลี่ยนกะทิมากจนเกินไปนั่นเอง
สลัดหลวงพระบาง (Luang Prabang Salad) เป็นอาหารขึ้นชื่ออีกชนิดหนึ่ง
เนื่องจากมีรสชาติกลาง ๆ ทำให้รับประทานได้ทั้งชาวตะวันออก และตะวันตก
โดยส่วนประกอบสำคัญคือ ผักน้ำ ซึ่งเป็นผักป่าที่ขึ้นตามริมธารน้ำไหล
และยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น มันแกว
แตงกวา มะเขือเทศ ไข่ต้ม ผักกาดหอม และหมูสับลวกสุก ส่วนวิธีปรุงรสคือ
ราดด้วยน้ำสลัดชนิดใส คลุกส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน แล้วโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว
และถั่วลิสงคั่ว
นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย โดยนาซิ
เลอมัก จะเป็นข้าวหุงกับกะทิ และใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4
อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น
ไข่ต้มสุก และถั่วอบ ซึ่งนาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตอง
และมักทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ
และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทยด้วย
เปาะเปี๊ยะเวียดนาม (Vietnamese
Spring Rolls) ถือเป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุดของประเทศเวียดนาม
ความอร่อยของเปาะเปี๊ยะเวียดนาม อยู่ที่การนำแผ่นแป้งซึ่งทำจากข้าวจ้าวมาห่อไส้
ซึ่งอาจจะเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ โดยนำมารวมกับผักสมุนไพรอีกหลายชนิด เช่น
สะระแหน่ ผักกาดหอม และนำมารับประทานคู่กับน้ำจิ้มหวาน โดยจะมีถั่วคั่ว แครอทซอย
ไชเท้าซอย ให้เติมตามใจชอบ และบางครั้งอาจมีเครื่องเคียงอย่างอื่นเพิ่มด้วย
ธงประจำชาติอาเซียน
ธงชาติบรูไน ลักษณะของธงชาติมีพื้นสีเหลือง โดยมีแถบสีขาว และสีดำ
พาดตามแนวทแยงมุมจากด้านคันธงจรดปลายธง ซึ่งแถบสีขาวอยู่ด้านบน
แถบสีดำอยู่ด้านล่าง ขณะที่กลางธงนั้น มีตราแผ่นดินของบรูไนประทับอยู่ ซึ่งสีต่าง
ๆ มีความหมาย ดังนี้
สีเหลือง หมายถึง กษัตริย์
สีขาว และสีดำ หมายถึง มุขมนตรี
สาเหตุที่ธงชาติบรูไนใช้สีเหลืองสื่อถึงกษัตริย์นั้น
เนื่องจากธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง
ธงชาติกัมพูชา ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3
ริ้ว โดยริ้วตรงกลางจะเป็นสีแดง กว้าง 2 ส่วน
มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่บริเวณกึ่งกลาง ขณะที่ริ้วด้านนอกทั้ง 2
ด้าน มีสีน้ำเงิน และกว้างริ้วละ 1
ส่วนเท่า ๆ กัน โดยสีต่าง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้
สีน้ำเงิน หมายถึง กษัตริย์
สีแดง หมายถึง ชาติ
ส่วนปราสาทนครวัดสีขาว หมายถึง สันติภาพ
ธงชาติอินโดนีเซีย พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน โดยสีต่าง ๆ ของธง
มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และอิสรภาพ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ธงชาติลาว ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวออกเป็น 3 ส่วน โดยแถบตรงกลางจะเป็นสีน้ำเงิน กว้าง 2
ส่วน มีพระจันทร์ทรงกลมสีขาวอยู่กึ่งกลาง ขณะที่แถบด้านนอกทั้ง 2
ด้าน มีสีแดง และกว้างริ้วละ 1
ส่วน เท่า ๆ กัน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
พระจันทร์สีขาว หมายถึงเอกภาพของ
สาเหตุที่มีดวงจันทร์ทรงกลมอยู่ตรงกลาง
เนื่องจากเพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง
ธงชาติมาเลเซีย มีแถบสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน
ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน
14
ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว
ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มีเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14
แฉก ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
แถบริ้วสีแดง และสีขาว ทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง
13 รัฐ
ภายในประเทศมาเลเซีย
ดาว 14
แฉก หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
พระจันทร์เสี้ยว หมายถึง ศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก สื่อถึง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
สีน้ำเงิน หมายถึง
ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย
ธงชาติพม่า ได้แบ่งตามความยาวออกเป็น 3 ส่วน และมีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วน
มีสีที่แตกต่างกัน ไล่จากบนลงล่าง คือ สีเหลือง สีเขียว และสีแดง
ขณะที่กึ่งกลางธงมีรูปดาว 5
แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า
สีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
ดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ
ธงชาติฟิลิปปินส์ ด้านต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว
เป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่งภายในสามเหลี่ยมสีขาว ประกอบด้วย
ดวงอาทิตย์รัศมี 8
แฉก ล้อมด้วยดาว 5
แฉก จำนวน 3
ดวง และตั้งอยู่ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมด ล้วนเป็นสีทอง
ส่วนด้านที่เหลือของธง ได้แบ่งครึ่งตามความยาว โดยแถบบนมีสีน้ำเงิน
และแถบล่างมีสีแดง
ทั้งนี้ หากแถบทั้งสองสีดังกล่าว
ได้มีการสลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีน้ำเงินอยู่ด้านล่าง แสดงว่า
ขณะนั้นประเทศฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในภาวะสงคราม ส่วนสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ
มีความหมาย ดังนี้
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม
สีแดง หมายถึง ความรักชาติ และความมีคุณค่า
ดวงอาทิตย์มีรัศมี 8
แฉก หมายถึง 8
จังหวัดแรกของประเทศ ที่มีความพยายาม ในการเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปน
กระทั่งเกิดการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2439
ดาวสามดวง หมายถึง การแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3
ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา
และหมู่เกาะวิสายัน
ธงชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน
แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมด้านบนของคันธง เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว
ถัดจากรูปดังกล่าวมีดาว 5
แฉก จำนวน 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า
โดยรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาว 5
แฉก ต่างมีสีขาว ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ตลอดกาล
รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง
ความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น
ดาว 5
ดวง หมายถึง อุดมคติ 5
ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม
และความเสมอภาค
ธงชาติไทย ประกอบด้วย 3
สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน มีการแบ่งเป็นริ้วจำนวน 5 แถบ
ซึ่งแถบในสุดเป็นสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบน ด้านล่าง เป็นสีขาว
และสีแดงตามลำดับ ทั้งนี้ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2
เท่า ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง ชาติ
สีขาว หมายถึง ศาสนา
สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ตาม มีการเรียกชื่อธงนี้ว่า ธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์
= สี) เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์
"เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ไว้เมื่อ พ.ศ. 2464 โดยได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ว่า
สีแดง หมายถึง
เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และธรรมะ
สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์
แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง
เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอด
ธงชาติเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดงล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5
แฉก สีเหลืองทอง เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมเวียดนาม
คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม
สีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519
ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า
สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ
ดาวสีทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)